วันเสาร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การปลูกพืชหมุนเวียน

การปลูกพืชหมุนเวียน  


เป็นการไม่ปลูกพืชชนิดเดียวกันหรือตระกูลเดียวกัน ติดต่อกันบนพื้นที่เดิม การปลูกพืชหมุนเวียนจะช่วยหลีกเลี่ยงการระบาดของโรคและแมลง และเป็นประโยชน์ในการปรับปรุงดิน
 หลักของการปลูกพืชหมุนเวียนมีเพื่ออนุรักษ์ดินและรักษา ธาตุอาหารในดินให้สมดุล พืชแต่ละชนิด กินอาหาร ต่างกันด้วย และสร้างธาตุอาหารที่ต่างกันด้วย การปลูกพืชหมุนเวียน หลายชนิดในพื้นดิน จะทำให้การใช้ธาตุอาหาร และการสร้างธาตุอาหารสมดุล การหมุนเวียนนี้ จะทำในลักษณะค่อยเป็น ค่อยไปก็ได้ วิธีการที่จะทำ แบบค่อยเป็น ค่อยไป จะง่ายที่สุด และเข้าใจได้ง่ายๆ ในระยะเริ่มต้น เราก็มีหลักอยู่ว่า เราแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆ เราจะมีพื้นที่ เท่าไหร่ก็ตาม ถ้าจะเป็น 4 ส่วน เราก็จะกำหนดตัวพืช 4 ชนิด
ถ้าเราต้องการปลูกพืช 5 ชนิด เราก็แบ่งพื้นที่เป็น 5 ส่วน ถ้าเราแบ่งพื้นที่เป็น 10 ส่วน แต่ใช้พืช 4 ชนิด เราก็จะหมุนเวียนปลูกพืช โดยแปลงที่ 1 กับแปลงที่ 6 ใช้พืชชนิดเดียวกัน แปลงที่ 2 กับแปลงที่ 7 และแปลงที่ 3 กับแปลงที่ 8 ในการปลูกรอบ 2 พืชที่เคยปลูกที่แปลงที่ 1 เราก็นำไปปลูกในแปลงที่ 2 ที่เคยปลูกในแปลงที่ 6 ก็ปลูกในแปลงที่ 7 เพราะฉะนั้น พืชหมุนเวียนได้ 5 ชุด
จังหวะของการทำกิจกรรมปลูกพืชในแต่ละแปลง จะไล่กันไปเรื่อยๆ เราจะเห็นได้ว่ามีมากแปลง ก็จะปลูกพืช ได้มากชนิด ถ้ามีมากกว่า 5 แปลง พืชปิดท้าย ควรจะเป็นตระกูลถั่วสัก 2 รายการ นอกเสียจากว่า เราจะเลือกพืชผัก ตระกูลถั่ว ลงในรายการอื่นแล้ว
การให้น้ำ ก็ขึ้นอยู่ว่าเราต้องการพืชผักตามกำหนดระยะเวลาหรือไม่ ถ้าเรารดน้ำ ก็จะได้ผลผลิตตามกำหนด เพราะพืชผัก แต่ละชนิด จะมีอายุเก็บกินได้ ถ้าเราต้องการตามกำหนด เราก็ต้องรดน้ำ การกำหนดพืชผัก จะต้องศึกษา ฤดูกาล อายุ ระยะเวลาให้ผลผลิต ของผักชนิดนั้นๆ ด้วย อนึ่ง ผักแต่ละชนิด จะให้ธาตุอาหาร และผลิตธาตุอาหาร ต่างกัน ในรายละเอียด ดินที่จะสมบูรณ์ จะต้องมีธาตุอาหารหลัก และธาตุอาหารย่อย การเลือกพืชผักลงดิน ก็จะต้องคำนึง ด้วยว่า พืชจะช่วยสร้างไนโตรเจน โปแตสเซียม ฟอสเฟต จะต้องมีเหล็ก มีสังกะสี หรือธาตุอาหารอื่นๆ อยู่ในดิน ธาตุอาหารเหล่านี้ มาจากพืชที่เราปลูกลงไป พืชเหล่านี้ จะสร้างธาตุอาหารเหล่านี้ ทิ้งไว้ในดิน การปลูกพืชชนิดเดียว จึงเป็นการทำลายดิน และทำลายสมดุล ของสิ่งแวดล้อม เราทดลองทำได้ ที่ไหนก็ได้ ทำกันในวงเล็กๆ ก่อน เมื่อเห็นว่า มันได้ประโยชน์ เราก็ขยายเป็นวงใหญ่ ขยายพื้นที่ทำเท่าไหร่ก็ได้ ในพื้นดินต้องมีความชุ่มชื้นเพียงพอสำหรับพืชและถ้าต้องการผลผลิตตามกำหนด จะต้องมีปริมาณน้ำเพียงพอ สมัยนี้ ก็มีขาตั้งวางสายยางฉีดน้ำ แบบสปริงเกอร์ ซึ่งยกได้ จะยกไปตั้งที่ไหนก็ได้ เอาไปฉีดตรงไหนก็ได้ เพราะฉะนั้น สมัยนี้ ความสะดวก ในการจัดการน้ำ มีมากขึ้น และในฤดูฝน หรือบางฤดูกาล ก็ไม่ต้องให้น้ำเลย การจัดการกำหนด รูปแบบพื้นที่ จะช่วยลดปริมาณน้ำ และช่วยประหยัด พลังงานน้ำได้ ในพื้นที่ที่มีการปลูกพืชผักอย่างต่อเนื่อง พื้นดินมีความชุ่มชื้น และมีเศษซากพืชมาก จะมีสภาพที่เอื้ออำนวย ต่อการดำรงชีวิต และเจริญเติบโต ของไส้เดือนฝอย ซึ่งจะทำลายระบบรากของผัก ที่เราปลูก ก่อนทำความสะอาด เมื่อจะเริ่มปลูกผักรอบ 2 จึงควรหว่านเมล็ดปอเทือง ซึ่งเป็นพืชตระกูลถั่ว ที่จะช่วยกำจัด ไส้เดือนฝอย ในดินของเรา ได้เป็นอย่างดี



ที่มา: http://th.wikipedia.org/wiki

https://sites.google.com/site/buu53310294/kar-xnuraks-din/kar-pluk-phuch-hmunweiyn-crop-rotation





วิธีการปลูกพืช

วิธีการปลูกพืช
    วิธีการปลูกพืชแบ่งเป็นวิธีใหญ่ๆ ได้ 3 วิธี คือ การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง (direct seeding) การปลูกโดยวิธีย้ายกล้าปลูก (transplanting) และการปลูกโดยใช้ส่วนเจริญของพืช (vegetative structure planting)
    1 การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง
    การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรงอาจกระทำได้โดยวิธีการดังนี้คือ
    1) การหว่าน (broadcasting) วิธีนี้เป็นวิธีที่เก่าแก่ ซึ่งปัจจุบันเกษตรกรใช้กับพืชบางชนิดซึ่งเมล็ดพันธุ์ราคาถูก เพราะการปลูกโดยวิธีนี้จะสิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์มาก ตัวอย่างเช่น ข้าวนาหว่านจะใช้เมล็ดในอัตราปลูก 1-2 ถังต่อไร่ หรือการปลูกข้าวฟ่างแบบหว่าน จะใช้เมล็ดอัตราปลูกประมาณ 3-4 กิโลกรัมต่อไร่ การปลูกด้วยวิธีนี้เกษตรกรจะต้องมีความชำนาญในการหว่าน มิเช่นนั้นจะทำให้ต้นกล้าที่งอกขึ้นมาแน่นเกินไป จนทำให้ต้นพืชแคระแกรน หรือทำให้โรคและแมลงเข้าทำลายได้ง่าย แต่ถึงกระนั้น เกษตรกรก็พยายามแก้ไขโดยวิธีการถอนแยก (thinning) เพื่อจัดระยะปลูกให้เหมาะสมจึงจะได้ผล
    2) การปลูกเป็นแถว (row planting) การปลูกโดยวิธีนี้มีการจัดระยะปลูกค่อนข้างแน่นอน ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 วิธีด้วยกันคือ
        2.1) การโรยเป็นแถว (drill planting) การปลูกแบบนี้มีการจัดระยะระหว่างแถวแน่นอน แต่ระยะระหว่างต้นไม่แน่นอน เช่น การปลูกข้าวฟ่าง หรือพืชผักบางชนิด การโรยเมล็ดในแถวถี่ห่างเท่าไรขึ้นกับอัตราปลูกที่ต้องการ หลังจากต้นกล้างอกขึ้นมาแล้ว จึงทำการถอนแยกให้เหลือจำนวนต้นที่ต้องการ เช่น การปลูกข้าวฟ่างโดยโดยเป็นแถวจะถอนแยกให้เหลือ 10 ต้นต่อแถวยาว 1 เมตร
        2.2) การหยอดเป็นหลุม (hill planting) วิธีนี้จะมีการกำหนดระยะระหว่างต้นและระหว่างแถวแน่นอน เช่น การปลูกข้าวโพด ถั่วเหลือง แตงโม เป็นต้น แต่ทั้งนี้เมล็ดที่หยอดในแต่ละหลุมขึ้นอยู่กับอัตราปลูกที่ต้องการ ซึ่งปกติจะเผื่อไว้กรณีที่เมล็ดมีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำหรือสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม และหลังจากต้นกล้างอกขึ้นมาแล้วจึงถอนแยกให้เหลือจำนวนต้นในแต่ละหลุมตามที่ต้องการ 

 ปัจจัยที่ต้องคำนึงในการปลูกด้วยเมล็ด มีดังต่อไปนี้
    1) ความลึกของการปลูก (depth of planting) โดยปกติแล้วขนาดของเมล็ดจะมีความสัมพันธ์กับความลึกในการปลูกด้วย คือเมล็ดขนาดใหญ่มีอาหารสำรองมากกว่าเมล็ดขนาดเล็ก ดังนั้นต้นกล้าที่งอกออกมาย่อมมีสมรรถภาพในการยืดตัวได้ดีกว่า และสามารถงอกแทงโผล่ผิวดินออกมาได้ดีกว่าเมล็ดขนาดเล็ก นอกจากนี้ชนิดของการงอกก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับความลึกในการปลูกด้วย คือเมล็ดที่มีการงอกแบบไฮโปจีล (hypogeal) สามารถปลูกได้ลึกกว่าเมล็ดที่มีการงอกแบบอีปิจีล (epigeal) เพราะการงอกแบบอีปิจีลนั้นต้นกล้าต้องชูใบเลี้ยง (cotyledon) ขึ้นมาเหนือดิน นอกจากปัจจัยดังกล่าวแล้วลักษณะของดินก็มีส่วนในการพิจารณาถึงความลึกในการปลูกด้วย คือถ้าดินร่วนโปร่งสามารถหยอดเมล็ดได้ลึกกว่าในสภาพดินแน่น
    2) การสัมผัสของเมล็ดกับดิน (seed-soil contact) นับว่าเกี่ยวข้องกับการเตรียมดิน และสำคัญมากกับการปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง คือต้องพยายามทำให้เมล็ดได้สัมผัสกับดินเพื่อสามารถดูดน้ำจากดินมาใช้ในการงอกได้ นั่นคือต้องอย่าทำให้ดินเกาะกันเป็นก้อนใหญ่ ต้องพยายามย่อยดินให้ร่วนซุย แต่ทั้งนี้ต้องไม่ทำให้ดินแน่นด้วย
    3) อัตราปลูกและการกระจายตัวของต้นพืชที่เหมาะสม (proper rate and distribution) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออัตราปลูกและการกระจายตัวของพืชมีดังต่อไปนี้
        3.1) เปอร์เซ็นต์ความงอกของเมล็ด เมล็ดพันธุ์ที่ดีที่มีเปอร์เซ็นต์ความงอกและความบริสุทธิ์สูงจะเป็นตัวที่ช่วยให้จำนวนต้นกล้าที่งอกขึ้นมาต่อหน่วยพื้นที่เป็นไปตามที่ต้องการ
        3.2) ความสามารถในการแข่งขัน ทั้งนี้ขึ้นกับขนาดของทรงพุ่ม พืชที่มีทรงพุ่มใหญ่การปลูกจะใช้อัตราปลูกต่ำ เช่นเดียวกับพืชที่มีการแตกกอหรือมีทรงพุ่มแผ่ออกก็ใช้อัตราปลูกต่ำเช่นกัน ยกเว้นในบางพืชเช่น ปอแก้ว ปอกระเจา ที่ต้องปลูกให้ถี่เพื่อลดการแตกกิ่งแขนงตามลำต้น
        3.3) อิทธิพลของสภาพแวดล้อม นับว่ามีส่วนสำคัญมากโดยเฉพาะชนิดของดินที่แตกต่างกัน ในสภาพดินมีความอุดมสมบูรณ์และอุ้มน้ำได้ดีจะช่วยให้พืชเจริญได้เป็นปกติได้อัตราปลูกที่ต้องการ ไม่ควรสูงนัก แต่ในกรณีที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำและอุ้มน้ำได้ไม่ดีจะมีผลทำให้พืชแคระแกรนการแตกกอน้อย ดังนั้นในสภาพเช่นนี้ควรเพิ่มอัตราปลูกให้สูงขึ้นเพื่อให้พืชขึ้นคลุมทั่วพื้นที่และได้ผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่สูง นอกจากนี้ลักษณะของดินและลมฟ้าอากาศ และวันปลูก (planting date) นับว่ามีอิทธิพลมาก เกษตรกรในประเทศไทยปลูกพืชโดยอาศัยน้ำฝนเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้นการกำหนดวันปลูกให้เหมาะสมกับฤดูกาลจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมาก เพราะจะมีผลถึงการใช้อัตราปลูกและผลผลิตที่จะได้รับ ตัวอย่างเช่น ข้าวโพดที่ปลูกเร็วในช่วงฤดูฝน และปลูกด้วยอัตราปลูกสูงให้ผลผลิตสูงกว่าและมีจำนวนต้นที่ปราศจากฝักน้อยกว่าการปลูกล่าออกไป
    4) เวลาในการปลูก การปลูกพืชตามปกติแล้วควรให้อยู่ในช่วงที่เหมาะสมมากที่สุด เพราะพืชต้องการการเจริญเติบโตช่วงหนึ่งทางลำต้น คือมีการแตกกิ่งก้านและสร้างใบให้มากที่สุดเพื่อสังเคราะห์แสงและสะสมอาหารได้เต็มที่ ซึ่งจะส่งผลไปถึงการให้ผลผลิตที่สูงขึ้นต่อไปด้วย ดังนั้นการปลูกพืชจึงไม่ควรปลูกให้ช้ากว่าช่วงการปลูกที่เหมาะสม
    

 การปลูกโดยวิธีย้ายกล้าปลูก


    การปลูกโดยวิธีย้ายกล้าปลูกประกอบด้วยขั้นตอน 2 ขั้นตอนที่สำคัญคือ การเตรียมกล้าและการย้ายปลูก
    1) การเตรียมกล้า
    การเตรียมกล้าเป็นขั้นตอนที่สำคัญเพราะเป็นการทำให้ต้นกล้าแข็งแรงเมื่อย้ายปลูกไปในแปลงปลูกและทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี มีการเจริญเติบโตต่อไปได้อย่างรวดเร็ว การเตรียมกล้าจำเป็นต้องเพาะเมล็ดก่อน ซึ่งมี 2 วิธีใหญ่ๆ คือ
        1.1) การเพาะกล้าในแปลงเพาะ (seedbed method) เป็นการเพาะเมล็ดในแปลงเพาะที่เตรียมไว้อย่างดี ซึ่งวิธีการเตรียมแปลงเพาะขึ้นอยู่กับชนิดของพืช เช่น การตกกล้าสำหรับปลูกข้าวนาดำ ก็ต้องเตรียมที่สำหรับการหว่านเมล็ดข้าวโดยเฉพาะ ซึ่งผิดกับการปลูกยาสูบซึ่งต้องยกแปลงเพาะขึ้นมาเป็นรูปแปลง แต่ทั้งนี้แปลงที่เพาะกล้าควรจะมีความอุดมสมบูรณ์ของดินสูง ปราศจากเชื้อ เมื่อเตรียมแปลงเพาะให้เรียบร้อยแล้วจึงนำเมล็ดมาหว่านหรือโรยเป็นแถว จากนั้นจึงรดน้ำแล้วหาวัสดุมาคลุมหรือพลางแสง ถ้าต้นกล้าที่งอกขึ้นมาแน่นเกินไป ควรทำการถอนแยกออกบ้าง
        1.2) การเพาะกล้าในกระบะ (seedbox method) วิธีนี้ใช้กับพืชที่ไม่ทนทานต่อสภาพ การถอนย้ายกล้าแบบล้างราก (bare root) เช่น ไม้ดอกและพืชผักบางชนิด การเพาะโดยวิธีนี้ใช้กระบะขนาดกว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร สูงประมาณ 7 เซนติเมตร สำหรับขนาดของกระบะขึ้นกับความสะดวกในการขนย้าย ที่ก้นกระบะต้องมีช่องระบายน้ำ วัสดุที่ใช้เพาะควรเป็นส่วนผสมของทรายหยาบ ปุ๋ยคอก และปุ๋ยหมักเก่า ในอัตราส่วน 1:1:1 และต้องฆ่าเชื้อก่อนที่จะนำไปเพาะกล้า การเพาะกล้าในกระบะเพาะนี้มักจะโรยเมล็ดเป็นแถวให้ช่วงแถวห่างกันประมาณ 5 เซนติเมตร และกลบผิวหน้าดินบาง ๆ นอกจากการเพาะในกระบะนี้แล้วอาจเพาะในถ้วยกระดาษหรือกระทงก็ได้ วิธีนี้จะทำให้รากของต้นกล้าไม่กระทบกระเทือนเวลาย้ายลงปลูกในแปลงปลูก
    การเตรียมต้นกล้าก่อนการย้ายปลูก เป็นสิ่งจำเป็นทั้งนี้เพราะหลังจากเมล็ดเริ่มงอกขึ้นมาแล้วต้องมีการดูแลรักษาอย่างดี ต้องมีการรดน้ำให้พอเหมาะ โดยพิจารณาจากความชื้นของดินในแปลงเพาะ เพราะถ้ารดน้ำมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคได้ง่าย เมื่อต้นกล้าโตได้ขนาดแล้ว ก่อนที่จะย้ายปลูกต้องทำให้ต้นกล้าอยู่ในสภาพพร้อมที่จะย้ายปลูก ซึ่งเรียกว่าการทำ ให้ต้นกล้าแข็งแรง (hardening) ควรทำในระยะ 7-10 วันก่อนการย้ายปลูก โดยรดน้ำให้น้อยลงและให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดเต็มที่
    2) การย้ายปลูก
    โดยขนย้ายกล้ามายังแปลงปลูก สำหรับต้นกล้าที่ถอนจากแปลงเพาะพยายามอย่าให้ต้นกล้ากระทบกระเทือนมาก จากนั้นนำกล้าลงปลูกตามหลุมที่ได้เตรียมไว้ในแถวปลูก การปลูกเราจะใช้ช้อนปลูกขุดหลุมให้ลึกพอควร แล้วนำต้นกล้าลงปลูกไม่ควรให้ต้นกล้าอยู่ลึกหรือตื้นเกินไป จากนั้นเอาดินกลบโคนต้นกล้า ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางสอดไประหว่างโคนต้นกล้าแล้วกดดินที่โคนต้นกล้าให้แน่น แล้วรดน้ำให้ชุ่มพอควร ปกติการย้ายปลูกต้นกล้าควรทำในตอนเย็นเพื่อลดปัญหาแสงแดดจัดในเวลากลางวัน และต้นกล้าจะตั้งตัวได้ในวันรุ่งขึ้น หากต้นกล้ายังเหี่ยวอยู่ควรหาวัสดุคลุมกันแสงแดดเพื่อช่วยให้ต้นกล้าตั้งตัวได้เร็วขึ้น
    
 การปลูกโดยใช้ส่วนเจริญของพืช
    เป็นการปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์ซึ่งมีตาข้างอย่างน้อย 2-3 ตา อาจจะเป็นส่วนซึ่งตัดมาจากลำต้นโดยตรง (stem cutting) ซึ่งนิยมทำกับอ้อยและมันสำปะหลัง หรือท่อนพันธุ์ที่นำไปปักชำแล้ว (rooted cutting)
    การปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์นี้ ควรเตรียมดินโดยไถเปิดร่องให้ห่างกันประมาณ 1.50 เมตร และให้ร่องลึกประมาณ 15-25 เซนติเมตร จากนั้นนำท่อนพันธุ์ปลูกในร่องซึ่งห่างกันประมาณ 1-1.50 เมตร การปลูกท่อน
พันธุ์ในร่องควรกระทำดังนี้
    1) ถ้าหากดินแห้งหรือมีความชื้นในดินน้อย ให้วางท่อนพันธุ์ขนานกับพื้นดิน และกลบดินเพียงเล็กน้อย การวางท่อนพันธุ์เช่นนี้ก็เพื่อให้ท่อนพันธุ์มีโอกาสใช้ความชุ่มชื้นในดินมากที่สุด
    2) ถ้าดินมีความชุ่มชื้นปานกลาง ให้ปักท่อนพันธุ์ทำมุม 45 องศากับระดับพื้นดิน
    3) ถ้าหากดินมีความชุ่มชื้นสูงหรือดินเปรี้ยว ให้ปักท่อนพันธุ์ทำมุม 90 องศากับระดับพื้นดิน เพื่อป้องกันท่อนพันธุ์เน่า

 ข้อพิจารณาในการเลือกวิธีการปลูก
    การปลูกทั้ง 3 วิธีที่กล่าวแล้ข้างต้น วิธีที่นิยมใช้กันมากคือ การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง เพราะทำได้ง่ายและประหยัดแรงงาน ซึ่งนิยมใช้กับการปลูกในพื้นที่ขนาดใหญ่ รองลงมาคือการปลูกโดยวิธีย้ายกล้าปลูกใช้กับพืชที่ต้องมีการควบคุมสภาพแวดล้อมในช่วงแรกหลังจากงอกมาจากเมล็ด คือเป็นช่วงต้นกล้าที่ยังอ่อนแอ ส่วนการปลูกโดยใช้ส่วนเจริญของพืชนั้นใช้กับพืชที่ไม่สะดวกในการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด เพราะติดเมล็ดได้ยากหรือติดเมล็ดได้น้อย หรือใช้วิธีขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนเจริญของพืชสะดวกกว่า เช่น อ้อยและมันสำปะหลัง เป็นต้น ที่กล่าวมานี้เป็นเพียงเหตุผลอย่างกว้างๆ การที่จะพิจารณาให้ละเอียดลงไปว่า พืชใดควรปลูกด้วยเมล็ดโดยตรงหรือปลูกโดยวิธีการย้ายกล้าปลูกมีข้อควรพิจารณาดังต่อไปนี้
    1) การเกิดรากใหม่ เนื่องจากระหว่างที่ทำการย้ายปลูกรากพืชจะขาดเสียหาย ทำให้พืชตั้งตัวได้ช้า พืชจะเจริญได้เป็นปกติเมื่อมีรากใหม่งอกขึ้นมาก พืชที่มีรากงอกขึ้นมาใหม่ได้ช้า ได้แก่ ข้าวโพด ถั่ว และแตงโม เป็นต้น เพราะมีสารซูเบอริน (suberin) เคลือบอยู่ในระยะที่มีการงอกและยับยั้งการเกิดรากใหม่ จึงมีการชะงักการเจริญเติบโต ซึ่งต่างกับพืชบางชนิด เช่น กะหล่ำปลี มะเขือเทศ ที่ย้ายปลูกได้ดีเพราะมีรากงอกขึ้นมาใหม่ได้ง่าย สรุปคือว่าพืชใดที่งอกรากใหม่ได้ช้าควรปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง
    2) ระบบราก สำหรับพืชบางชนิดโดยเฉพาะพวกพืชหัว ที่ผลผลิตได้จากส่วนของรากแก้วที่ขยายตัวขึ้นเพื่อสะสมอาหาร เช่น ผักกาดหัว (chinese radish) และแครอท (carrot) เป็นต้น ซึ่งพืชพวกนี้จำเป็นต้องปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง เพราะถ้าปลูกโดยวิธีย้ายกล้าจะมีผลทำให้รากแก้วขาดเสียหาย ทำให้การลงหัวผิดปกติหรือไม่ลงหัว
    3) ขนาดของเมล็ด เมล็ดพืชบางชนิดมีขนาดเล็กมาก เช่น ยาสูบ ซึ่งมีอาหารสะสม อยู่ในเมล็ดน้อย ตลอดจนต้นกล้ามีขนาดเล็กมาก ดังนั้นในช่วงที่เป็นต้นกล้าอ่อนถ้าสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมก็จะทำให้ต้นกล้าอ่อนแอต่อการถูกทำลายของโรคและแมลงได้ง่าย พืชพวกนี้จึงนิยมปลูกโดยวิธีย้ายกล้า เพราะต้องมีการดูแลรักษาอย่างดีในระยะที่เป็นต้นกล้า ต่างกับพืชที่มีเมล็ดขนาดใหญ่ เช่น ข้าวโพด ถั่ว พืชพวกนี้มีอาหารสำรองในเมล็ดมากจึงใช้อาหารในการช่วยกระตุ้นในการงอกได้ดีกว่าต้นกล้าจึงแข็งแรงทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดีกว่าพืชพวกที่มีเมล็ดขนาดเล็ก
    4) แรงงานและต้นทุน เพราะการปลูกด้วยเมล็ดโดยตรงจะประหยัดแรงงานกว่า ส่วนการปลูกด้วยต้นกล้าต้องเสียค่าใช้จ่าย ค่าแรงงานในการเตรียมแปลงเพาะกล้า การดูแลรักษาต้นกล้า การขนย้ายกล้า และการปลูกต้นกล้า แต่ข้อเสียของการปลูกด้วยเมล็ดคือ ใช้ปริมาณเมล็ดมากกว่าการปลูกโดยวิธีย้ายกล้าประมาณ 3-4 เท่า ด้วยเหตุนี้การใช้เมล็ดพันธุ์ที่ดีมีราคาแพง ควรปลูกด้วยวิธีย้ายกล้าเพราะจะช่วยประหยัดเมล็ดพันธุ์ลงได้ แต่ต้องพิจารณาการเกิดรากใหม่ ระบบราก และขนาดเมล็ดประกอบด้วย




ที่มา: http://www.natres.psu.ac.th/Department/PlantScience/510-111web/book/book%20content.htm/chapter08/agri_08.htm




การหว่านเมล็ด


การเพาะย้ายกล้า




การหยอดหลุม


พืชไร่

พืชไร่ 

          1. การจำแนกพืชไร่ตามลักษณะของการใช้พื้นที่ แบ่งออกได้

              1.1 พืชที่ปลูกในที่ดอน ได้แก่ ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวฟ่าง เป็นต้น
              1.2 พืชที่ปลูกในที่ลุ่ม เช่น ข้าว หน่อไม้น้ำ เป็นต้น


          2. การจำแนกพืชไร่ตามหลักพฤกษศาสตร์

              2.1 พืชใบเลี้ยงเดียว คือ พืชที่มีใบเลี้ยง 1 ใบ ลักษณะเส้นใบจะขนานไปตามความยาวของใบพืช เช่น พืชตระกูลหญ้าต่าง ๆ ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง อ้อย เป็นต้น


              2.2 พืชใบเลี้ยงคู่ คือ พืชที่มีใบเลี้ยง 1 คู่ ลักษณะใบเป็นร่างแห เช่น พืชตระกูลถั่วต่าง ๆ



          3. การจำแนกพืชไร่ตามลักษณะการใช้ประโยชน์ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

              3.1 ธัญพืช หมายถึง พืชล้มลุกตระกูลหญ้า ที่ให้เมล็ดเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์โดยไม่เป็นพิษ เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวสาลี ข้าวไรย์ ข้าวโอ๊ด ข้าวบาเลย์ เป็นต้น
              3.2 พวกถั่ว หมายถึง พืชที่อยู่ในตระกูลถั่วที่ให้เมล็ดเป็นอาหาร เช่น ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง เป็นต้น
              3.3 พืชอาหารสัตว์ หมายถึง พืชพวกหญ้า ผัก หรือถั่ว ที่อยู่ในรูปของแห้งหรือยังสดอยู่ นำมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์ เช่น ถั่วต่าง ๆ ฟางข้าว ข้าวโพด หญ้าต่าง ๆ เป็นต้น
              3.4 พืชที่ใช้รากเป็นประโยชน์ หมายถึง พืชที่สามารถนำรากมาใช้เป็นประโยชน์ ในด้านเป็นอาหารของมนุษย์และสัตว์ เช่น มันเทศ มันสำปะหลัง หัวบีท เป็นต้น


มันสำปะหลัง

              3.5 พืชใช้หัว หมายถึง พืชที่มีลำต้นขนาดใหญ่อยู่ใต้ดินสำหรับเก็บสะสมอาหาร และสามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์แก่มนุษย์ได้ เช่น มันฝรั่ง เผือก เป็นต้น
              3.6 พืชเส้นใย หมายถึง พืชที่ปลูกขึ้นเพื่อใช้เส้นใยทางอุตสาหกรรม เช่น ทำเชือก กระสอบ เสื้อผ้า วัสดุเย็บปักถักร้อยต่าง ๆ เช่น ฝ้าย ป่าน ปอ ศรนารายณ์ เป็นต้น
              3.7 พืชให้น้ำตาล หมายถึงพืชที่สามารถนำเอาส่วนใดส่วนหนึ่งมาผลิตน้ำตาลได้ เช่น อ้อย หัวบีท เป็นต้น
              3.8 พืชประเภทกระตุ้นประสาท หมายถึง พืชที่ช่วยกระตุ้นประสาท หากใช้มาก ๆ หรือใช้นาน ๆ ก็จะทำให้ติดได้ เช่น ยาสูบ ชา กาแฟ เป็นต้น
              3.9 พืชให้น้ำมัน หมายถึง พืชที่ให้ผลิตผลที่สามารถนำมาแปรรูปเป็นน้ำมันใช้เป็นประโยชน์ได้ เช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ละหุ่ง งา ฝ้าย ข้าวโพด เป็นต้น


              3.10 พืชให้น้ำยาง หมายถึงพืชพวกที่ให้น้ำยาง เพื่อใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ เช่น ยางพารา ยางสน เป็นต้น

ที่มา: http://www.chaiwbi.com/aggie2552/chaiwbi2552/unit01/1004.html




พืชสวน

พืชสวน

คือ พืชที่ปลูกในพื้นที่ไม่มากหรือมาก ๆ ก็ได้ แต่ต้องปฏิบัติดูแลรักษาอย่างประณีต ส่วนมากอายุยืน สามารถเก็บเกี่ยวได้เป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน แบ่งออกได้เป็นหลายแขนง คือ 

1. พืชผัก หมายถึง พืชพวกที่ใช้ใบ ผล ราก ดอก หัว หรือลำต้นเป็นอาหาร ส่วนใหญ่เป็นพืช ที่มีอายุสั้นเพียงฤดูเดียว เช่น ผักกาดขาว กวางตุ้ง คะน้า มะเขือเทศ พริก แครอท สะระแหน่ กะหล่ำปลี ผักกาดหัว กะหล่ำดอก และผักบางชนิดอาจมีอายุมากกว่า 1 ปี เช่น ผักกระเฉด ขิง ข่า ตะไคร้ เป็นต้น 

        2. ไม้ผล หมายถึง ไม้ยืนต้นที่มีอายุหลายปี จึงจะให้ผลผลิต การทำสวนผลไม้ ชาวสวนจะต้องศึกษาหาความรู้ ความชำนาญ ความขยันหมั่นเพียรและปฏิบัติดูแลรักษาอยู่ตลอดเวลา เพราะการทำสวนผลไม้ต้องอาศัยเงินทุน และระยะเวลานานพอสมควรที่จะให้ผลผลิตออกจำหน่ายได้ พืชที่จัดว่าเป็นไม้ผล ได้แก่ มะม่วง ทุเรียน มะขาม มังคุด ลำไย มะพร้าว ขนุน ชมพู่ ส้มต่างๆ เป็นต้น 

          3. ไม้ดอกไม้ประดับ หมายถึง พืชที่ปลูกแล้วสามารถให้ดอกที่สวยงาม หรือบางชนิดก็ให้ใบ ทรงต้น ทรงพุ่มสวยงาม ซึ่งสามารถใช้ตกแต่งสถานที่ให้สวยงามได้ แบ่งออกเป็น 

    3.1 ไม้ดอก คือ พืชที่ปลูกเพื่อต้องการดอกนำไปใช้ประโยชน์ แบ่งออกเป็น 
                        3.1.1 ไม้ตัดดอก คือ ไม้ดอกที่ปลูกเพื่อตัดดอกจากต้นนำมาใช้ประโยชน์ เช่น ดอกกุหลาบ เบญจมาศ เยอบีร่า เป็นต้น 
                        3.2.2 ไม้ดอกติดกับต้น หมายถึง พันธุ์ไม้ดอกที่ไม่นิยมตัดดอก เนื่องจากดอกไม่มีความคงทน เหี่ยวเฉาง่าย เช่น ชบา ทองอุไร ผกากรอง เฟื้องฟ้า เป็นต้น

               3.2 ไม้ประดับ คือ พันธุ์ไม้ที่ปลูกเพื่อประดับอาคารต่าง ๆ โดยไม่คำนึ่งถึงดอกของมัน แต่คำนึกถึงความสวยงามของรูปทรงลำต้น ใบ ทรงพุ่ม เป็นส่วนสำคัญ แบ่งออกได้ 

                        3.3.1 ไม้ใบ คือ พันธุ์ไม้ที่มีรูปร่างลักษณะของใบสวยงามมีสีสันดี เช่น บอน เฟิร์น โกสน ปริกหางกระรอก เป็นต้น
                        3.3.2 ไม้กระถาง คือ พันธุ์ไม้ประดับที่สามารถนำมาปลูก ให้เจริญเติบโตได้ดีในกระถาง ได้แก่ สาวน้อยประแป้ง เขียวหมื่นปี หมากเขียว หมากเหลือง ตะบองเพชร เป็นต้น 
                        3.3.3 ไม้ดัดและไม้แคระ คือ ไม้ประดับที่มีความสวยงามของทรงลำต้น กิ่ง ใบ ดอก หรือผล โดยคอยตัดแต่งดูแลเอาใส่เป็นพิเศษ ใช้ศิลปและเวลาในการตกแต่งมาก พันธุ์ไม้ดัดไม้แคระ ได้แก่ ชาดัด ข่อย ตะโก โมก มะสัง เป็นต้น 
                        3.3.4 การจัดสวนและการตกแต่งสถานที่ คือ การวางผัง ปรับปรุงพื้นที่เพื่อปลูกไม้ดอกไม้ประดับ ตกแต่งให้บริเวณสถานที่นั้น สวยงามน่าอยู่น่าอาศัย ตัวอย่างการจัดสวน เช่น สวนสาธารณต่าง ๆ สวนหลวง ร. 9 สวนจตุจักร เป็นต้น 


ที่มา: http://www.chaiwbi.com/aggie2552/chaiwbi2552/unit01/1004.html




การเลี้ยงปลาแบบผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์

 การเลี้ยงปลาแบบผสมผสานกับการเลี้ยงสัตว์

การเลี้ยงปลาแบบผสมผสานหากจำแนกตามที่ตั้งของโรงเรือนเลี้ยงสัตว์จะพบว่ามีสอง ลักษณะคือ 
         แบบสร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ไว้เหนือบ่อเลี้ยงปลา เป็นแบบที่นิยมกันมากที่สุด เพราะ สะดวกและ
สามารถระบายมูลสัตว์จากโรงเรือนลงสู่บ่อปลาโดยตรงสัตว์ที่อาศัยอยู่ ในโรงเรือนบนบ่อปลาจะได้ประโยชน์
จากบ่อปลาในการช่วยลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน ให้ต่ำลง สัตว์จึงไม่เครียด ทำให้กินอาหารได้มากขึ้นโต
เร็วและต้านทานโรคได้ดีทั้งยังดูแลรักษาความสะอาดได้ง่าย ประหยัดแรงงาน ข้อเสียคือ ต้นทุนค่าสร้างโรง
เรือนสูงขึ้น เนื่องจากต้องใช้ไม้ทำเสา และวัสดุปูพื้นเพิ่มขึ้นโรงเรือนลักษณะนี้เหมาะสำหรับเลี้ยงสัตว์เล็ก
เช่น เป็ดหรือไก่เท่านั้น


แบบสร้างโรงเรือนแยกออกไปจากบ่อปลา โดยมีรางระบายมูลสัตว์จากโรงเลี้ยงมาสู่บ่อปลา แบบนี้จะพบ
มากในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ใหญ่ เช่น สุกร ที่สร้างโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อยู่ก่อนแล้วจึงขยายเนื้อที่เลี้ยงปลาโดยการ
ขุดบ่อในภายหลังเกษตรกรที่จะลงทุนเลี้ยงปลาผสมผสานโดยการสร้างโรงเรือนและขุดบ่อเลี้ยงปลานั้น ขอ
แนะนำให้สร้างตามแบบแรก ถึงแม้ว่าต้องลงทุนเพิ่มขึ้น แต่ผลตอบแทนในระยะยาวจะคุ้มค่าเพราะประหยัด
พื้นที่และประหยัดแรงงานมากกว่า สำหรับเกษตรกรที่มีโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อยู่แล้ว หากต้องการเลี้ยงปลา
เพิ่มขึ้นควรใช้แบบที่สอง

ที่มา: https://sites.google.com/site/cityanimal7/kar-leiyng-satw-na/1-3-kar-bwn-kar-leiyng-satw-na-baeb-phsm-phsan



การเลี้ยงลูกโค


การเลี้ยงดูลูกโค

          ก่อนที่จะพูดถึงการเลี้ยงลูกโค ควรจะทำความรู้รู้จักกับนมน้ำเหลืองก่อน นมน้ำเหลือง คือน้ำนมที่ผลิต ออกมาจากแม่โคในระยะแรกคลอดจะผลิตออกมานานประมาณ 2-5 วัน ต่อจากนั้นก็จะเปลี่ยนเป็นนมธรรมดา ลักษณะของนมน้ำเหลืองจะมีสีขาวปนเหลือง มีรสขม มีคุณสมบัติคือ จะมีภูมิคุ้มโรค อีกทั้งช่วยป้องกันโรคที่ เกิดกับระบบลำไส้และผิวหนังและยังเป็นยาระบายท้องอ่อน ๆ ของลูกโคได้อีกด้วย มีคุณค่าทางอาหารสูงเมื่อ ลูกโคคลอดมาใหม่ ๆ ควรแยกลูกโคออกจากแม่โคทันที และควรจะให้กินนมน้ำเหลืองจากแม่โคภายใน 6 ชั่วโมงหลังคลอด เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงโดยเร็ว ลูกโคควรได้กินนมน้ำเหลืองราว 2-5 วัน ให้กินวันละ 2 เวลา เช้า, เย็น

อาจฝึกได้โดยให้ลูกโคกินนมจากถังพลาสติกหรืออะลูมิเนียมหัดให้กินโดยใช้นิ้วมือจุ่มลงในน้ำนมให้เปียก แล้วแหย่เข้าไปในปากลูกโคให้ลูกโคดูด แล้วกดหัวลูกโคให้ปากจุ่มลงไปในน้ำนม ลูกโคจะดูดนิ้วมือ ขณะเดียวกันน้ำนมก็จะไหลเข้าไปได้หัดดูดนิ้วมือเช่นนี้ประมาณ 3-4 ครั้งต่อ ๆ ไปจึงค่อย ๆ ดึงนิ้วมือออก ปล่อยให้ลูกโคดูดกินเองต่อไป ทำเช่นนี้ประมาณ 1-3 วัน ลูกโคก็จะค่อย ๆ เคยชิน สามารถดูดจากถังเองได้
วิธีเลี้ยงลูกโคระยะแรกอาจปฏิบัติได้ดังนี้
นมแม่ ให้ลูกโคกินต่อหลังจากนมน้ำเหลืองหมดจนลูกโคอายุได้ 1 เดือน (4 สัปดาห์) แล้วจึงให้กินนมเทียม หรือนมผงละลายน้ำต่อจนอายุได้ 3-4 เดือน (12-16 สัปดาห์) จึงหย่านม
นมเทียม หรือนมผงละลายน้ำ สำหรับการเลี้ยงลูกโคเพศเมีย ควรให้กินต่อจากนมแม่เมื่ออายุได้ 1 เดือน (4 สัปดาห์) แต่สำหรับลูกโคเพศผู้ ควรให้กินนมแม่อย่างน้อย 1 สัปดาห์ จึงเริ่มให้กินนมเทียมหรือนมผง ละลายน้ำ และให้กินต่อไปจนหย่านมหรืออายุได้ประมาณ 3-4 เดือน (12-16 สัปดาห์)
หมายเหตุ การเลี้ยงดูลูกโคนมดังกล่าวมาแล้ว เป็นการเลี้ยงดูลูกโคแบบ "ให้นมจำกัดหรือให้อาหารข้น ลูกโคอ่อน" ไม่ว่าเลี้ยงดูด้วยนมแม่หรือนมเทียมกล่าวคือ การให้นมควรจะให้ในปริมาณที่เกือบคงที่ตลอดไป คือประมาณ 10% ของน้ำหนักตัว ตัวอย่างเช่น ลูกโคเกิดมามีน้ำหนัก 30 กิโลกรัม ก็ให้นมวันละ 3-4 กิโลกรัม ตลอดไปโดยแบ่งให้เข้า 2 กิโลกรัม บ่าย 2 กิโลกรัม จนอายุหย่านมในขณะเดียวกันควรตั้งอาหารข้น สำหรับลูกโคและหญ้าแห้งคุณภาพดีวางไว้ให้ลูกโคได้ทำความรู้จักและหัดกิน ตั้งแต่ลูกโคอายุได้ 1 สัปดาห์ จนถึง 12 สัปดาห์ต่อจากนั้นให้กินหญ้าสด วิธีการดังกล่าวเป็นการหัดโดยการบังคับให้ลูกโค ช่วยเหลือตัวเอง โดยเร็วที่สุดเป็นวิธีการที่ประหยัดนมแม่โคได้มาก และรวมทั้งนมเทียมด้วย เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการเลี้ยงดู ลูกโค
อนึ่ง สำหรับวิธีการผสมนมเทียม หรือนมผงละลายน้ำเราอาจใช้การผสมในอัตราส่วน 1 ต่อ 7 ถึง 10 ส่วน แต่ที่นิยมใช้คือ 1 ต่อ 8 หรือ 1 ต่อ 9 ส่วน ตัวอย่างเช่นถ้าใช้นมผง 1 กิโลกรัมก็ต้องผสมน้ำ 8 กิโลกรัม หรือ ถ้าใช้นมผง ฝ กิโลกรัม ก็ต้องผสมน้ำ 4 กิโลกรัม ในการผสมแต่ละครั้งควรคนให้เข้ากัน และต้องเติมน้ำมัน ตับปลาหรือวิตามินลงไปด้วยการผสมนมผผงแต่ละครั้งมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับท่านมีลูกโคจำนวนมาก น้อยเพียงใด


ที่มา: https://sites.google.com/site/cityanimal7/kar-leiyng-satw-bk/1-2-hlak-kar-leiyng-satw-bk


การเลี้ยงสัตว์

การเลี้ยงสัตว์


สัตว์เลี้ยง คือสัตว์ที่ถูกควบคุมโดยมนุษย์ ในเรื่องการให้อาหาร การคุ้มครองดูแลการผสมพันธุ์ของสัตว์ตามต้องการได้ และสร้างความผูกพันต่อกันระหว่างคนกับสัตว์ จึงเรียกว่าสัตว์เลี้ยง แต่จะไม่นับสัตว์ที่อยู่ในสวนสัตว์ สัตว์ที่อยู่ในห้องทดลองว่าเป็นสัตว์เลี้ยงด้วย เหตุเพราะไม่มีส่วนผูกพันกับชีวิตและความเป็นอยู่ของคนโดยตรง สัตว์เลี้ยงคือมิตร คือเพื่อนผู้ซื่อสัตย์และจงรักภักดีต่อเจ้าของ 
จริงๆ แล้วมนุษย์ได้เริ่มทำการเลี้ยงสัตว์เมื่อประมาณ 2 หมื่นปีมาแล้ว โดยมีการนำเอาสุนัขป่าตัวเมียมาขุน เพื่อที่จะได้นำลูกสุนัขไปรับประทานและต่อมา ก็ใช้สุนัขป่าเพื่อช่วยล่าสัตว์ เชื่อว่าแหล่งที่เริ่มเลี้ยงสุนัขอยู่ในแถบยูเรเซียและเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ต่อมาเมื่อประมาณ 1 หมื่นปีมานี้ มนุษย์เริ่มเลี้ยงสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ เช่น โค แพะ แกะ และสุกร เพื่อเป็นแหล่งของอาหารและเครื่องนุ่งห่ม และหลังจากนั้นจึงได้มีการเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่นๆ เพิ่มขึ้น เช่น สัตว์ปีก และแมลงต่างๆ เวลาและสถานที่ที่เริ่มทำการเลี้ยงสัตว์สำคัญบางชนิด


ที่มา: http://th.wikipedia.org


เกษตรกรรม

เกษตรกรรม : Agriculture

               เป็นการเพาะปลูกพืช เห็ดรา เลี้ยงสัตว์ ตลอดจนอาหาร เส้นใย เชื้อเพลิงชีวภาพ ยารักษาโรคและผลิตภัณฑ์อื่นซึ่งใช้บำรุงและปรับปรุงชีวิตมนุษย์ เกษตรกรรมเป็นพัฒนาการสำคัญในความเจริญของอารยธรรมมนุษย์ที่อยู่กับที่ ซึ่งการเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์สปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่องทำให้มีอาหารส่วนเกินซึ่งช่วยพัฒนาการของอารยธรรม การศึกษาเกษตรกรรม เรียก เกษตรศาสตร์ ประวัติศาสตร์เกษตรกรรมย้อนไปหลายพันปี และภูมิอากาศ วัฒนธรรมและเทคโนโลยีที่ต่างกันมากขับเคลื่อนและนิยามพัฒนาการของเกษตรกรรม ทว่า เกษตรกรรมทั้งหมดโดยทั่วไปพึ่งพาเทคนิคการขยายและบำรุงที่ดินที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงสปีชีส์ที่ถูกทำให้เชื่อง สำหรับพืช เทคนิคนี้มักอาศัยชลประทานบางรูปแบบ แม้จะมีวิธีการเกษตรกรรมในเขตแห้งแล้งอยู่ก็ตาม การเลี้ยงปศุสัตว์เป็นการเลี้ยงในระบบทุ่งหญ้าและไม่เป็นเจ้าของที่ดินรวมกัน ครอบคลุมพื้นที่เกือบหนึ่งในสามของส่วนที่ปราศจากน้ำแข็งและน้ำของโลก ในโลกพัฒนาแล้ว กษตรอุตสาหกรรมที่ยึดการปลูกพืชเชิงเดี่ยวขนาดใหญ่ได้กลายเป็นระบบเกษตรกรรมสมัยใหม่ที่พบมากที่สุด แต่มีแรงสนับสนุนเกษตรกรรมยั่งยืน รวมถึงเกษตรถาวรและเกษตรกรรมอินทรีย์มากขึ้น



ที่มา: http://th.wikipedia.org


การตอนกิ่ง

การตอนกิ่ง (LAYERING)
การตอนเป็นวิธีการขยายพันธุ์พืชอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้กิ่งหรือต้นพืชเกิดรากขณะติดอยู่กับต้นแม่ เมื่อตัดไปปลูกจะได้ต้นพืชใหม่ที่มีลักษณะทางสายพันธุ์เหมือนต้นแม่ทุกประการ แต่มีข้อเสียคือ ระบบรากของพืชไม่ค่อยแข็งแรง เนื่องจากไม่มีระบบรากแก้ว
วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการตอนกิ่ง
๑. มีดบางหรือมีดที่ใช้สำหรับขยายพันธุ์พืช
๒. ตุ้มตอน (ตุ้มตอน หมายถึง ขุยมะพร้าวอัดถุงพลาสติกขนาด ๔ x ๖ นิ้ว)
๓. เชือกหรือลวด
๔. กรรไกรตัดแต่งกิ่ง 
วิธีการตอน ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้ 
๑. การเลือกกิ่งที่จะทำการตอน
การเลือกกิ่งนับว่าเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรกจึงจำเป็นต้องเลือกกิ่งจากต้นพันธุ์ดี ต้องเป็นกิ่งเพสลาด (กิ่งกึ่งอ่อนกึ่งแก่) ที่มีความสมบูรณ์ปราศจากการทำลายของโรคและแมลง ถ้าเป็นกิ่งกระโดงได้ยิ่งดี หรือกิ่งจากส่วนอื่นที่สมบูรณ์แบบ กรณีที่ต้นพันธุ์ดีมีอายุมาก กิ่งไม่สวย จำเป็นต้องตัดกิ่งเพื่อให้กิ่งชุดใหม่แตกออกมาเสียก่อน แล้วจึงทำการตอนบนดิ่งชุดใหม่นั้น 
๒. การทำแผลบนกิ่งตอน มีวิธีการทำได้ ๓ แบบ คือ
๒.๑ แบบการควั่นกิ่ง เป็นการทำแผลที่นิยมและใช้กันมานานแล้ว สามารถใช้ได้กับพืชหลายชนิด เช่น มะนาว ส้ม ชมพู่ ฝรั่ง ลิ้นจี่ ส้มโอ และไม้ดอกไม้ประดับ ฯลฯ วิธีนี้เหมาะสำหรับพืชที่ลอกเปลือกไม้ออกได้ง่าย โดยการใช้มีดควั่นกิ่งโดยรอบเป็นวงแหวน ๒ วง ความห่างของวงแหวนประมาณความยาวของเส้นรอบวงของกิ่งที่ทำการตอน จากนั้นกรีดรอยแผลจากด้านบนถึงด้านล่าง แล้วลอกเอาเปลือกไม้ออก ใช้สันมีขูดส่วนที่เป็นเมือกลื่นที่ติดบนเนื้อไม้บริเวณรอยควั่นออกให้หมด โดยขูดจากด้านบนลงมาด้านล่างเบา ๆ เพราะด้านบนเป็นส่วนที่ให้กำเนิดราก ถ้าหากซ้ำการออกรากอาจจะไม่ดีเท่าที่ควร 
๒.๒ แบบการปาดกิ่ง เป็นวิธีการตอนอีกแบบหนึ่ง เหมาะสำหรับพืชที่ออกรากง่าย และพืชบางชนิดที่ลอกเปลือก นอกของกิ่งออกยาว โดยการเฉือนใต้ท้องกิ่งบริเวณที่จะทำการตอนเข้าเนื้อไม้เอียงเป็นรูปปากฉลาม เข้าไปในเนื้อไม้ประมาณ ๑/๓ ของเส้นผ่าศูนย์กลางของกิ่ง ความยาวแผลประมาณ ๑-๒ นิ้ว จากนั้นหาเศษไม้หรือลวดตะกั่วหรือลวดฟิวไฟฟ้าสอดแล้วมัดเพื่อไม่ให้รอยแผลที่เปิดไว้ติดกัน ซึ่งพืชที่ใช้วิธีนี้ ได้แก่ สาเก ชวนชม 

๒.๓ แบบการกรีดกิ่ง โดยใช้ใบมีดกรีดเป็นรอยแผลตามความยาวของกิ่ง ยาวประมาณ ๑-๑.๕ นิ้ว จนลึกถึงเนื้อไม้จำนวน ๓-๕ รอยรอบกิ่ง เหมาะสำหรับพืชที่ออกรากง่ายและกิ่งที่จะทำการตอนยังอ่อนอยู่ เช่น หมากผู้หมากเมีย โกศล ยี่โถ 

๓. การหุ้มกิ่งตอน
เป็นการชักนำให้รอยแผลที่ควั่นไว้ออกรากโดยใช้ตุ้มตอนซึ่งได้จากการนำขุยมะพร้าวที่ดีเอาเส้นใยออกแล้วไปแช่น้ำบีบให้หมาด ๆ และอัดลงในถุงพลาสติกขนาดเล็ก ผูกปากถุงให้แน่น ผ่าตุ้มตอนตามยาวแล้วหุ้มไปบนรอยแผล มัดด้วยเชือกบริเวณหัวท้ายเหนือและใต้รอยแผลที่ควั่นหรือเฉือนเอาไว้ ต้องมัดให้แน่นโดยไม่ให้ตุ้มตอนหมุนได้ เพราะถ้ามักไม่แน่นอาจทำให้การออกรากไม่ดีเท่าที่ควร 
๔. การปฏิบัติดูแลรักษากิ่งตอน
หลังจากทำการตอนกิ่งไปแล้วควรหมั่นดูแลตุ้มตอนให้มีความชื้นอยู่เสมอ โดยสังเกตดูความชื้นของตุ้มตอน ถ้ายังมีฝ้าไอน้ำจับอยู่ที่ผิวของพลาสติกภายในตุ้มตอนแสดงว่าความชื้นยังมีอยู่ แต่ถ้าหากไม่มีฝ้าไอน้ำจับ จำเป็นต้องให้น้ำตุ้มตอนเพิ่มเติมจนกว่ากิ่งตอนจะออกราก หรือถ้าหากพบแมลงทำลายควรฉีดพ่นด้วยสารเคมี 
๕. การตัดกิ่งตอน
เมื่อตอนกิ่งไปได้ประมาณ ๓๐-๔๕ วัน กิ่งตอนก็จะเริ่มออกรากและแทงผ่านวัสดุที่หุ้มภายในออกมาจนมองเห็นด้วยตาเปล่า ระยะนี้ยังตัดกิ่งตอนไม่ได้ต้องรอจนรากที่งอกออกมาเป็นสีเหลืองแก่หรือสีน้ำตาล จำนวนรากมีมากพอและปลายรากมีสีขาว จึงตัดกิ่งตอนไปชำได้ 
๖. การชำกิ่งตอน
กิ่งตอนที่ตัดมาแล้วให้ตัดแต่งใบและกิ่งออกทิ้งบ้างเพื่อลดการคายน้ำของใบให้มีปริมาณน้อยลง ถ้าหากมีกิ่งแขนงและใบมากเกินไป เมื่อนำไปชำอาจจะทำให้ต้นพืชเหี่ยวเฉาและตายได้ จากนั้นให้ตัดเชือกและแกะถุงพลาสติกออก นำไปชำลงในถุงพลาสติกหรือกระถางดินเผาที่บรรจุดินผสมแล้ว พร้อมปักหลักยึดไว้ให้แน่น นำเข้าพักไว้ในโรงเรียนที่ร่มและชื้น กรณีพืชที่เหี่ยวเฉาง่ายควรก็บไว้ในโรงเรือนควบคุมความชื้นหรือกระบะพ่นหมอก พักไว้ในโรงเรือนประมาณ ๒๐-๓๐ วัน ก็สามารถนำไปปลูกได้

ที่มา: https://web.ku.ac.th/nk40/nk/data/17/nk17k8.htm



การปักชำ

    การปักชำ

การปักชำ คือการใช้ส่วนต่างๆ ของพืช เช่น ราก ใบ หรือ ลำต้น ไปปักชำ และส่วนของพืชเหล่านี้จะเจริญงอกงามเป็นลำต้นต่อไป
การปักชำเป็นวิธีขยายพันธุ์พืชที่ดีวิธีหนึ่งซึ่งมีข้อดี ดังนี้
1. ประหยัดค่าใช้จ่าย
2. ขยายพันธุ์ได้ปริมาณมาก
3. ทำได้ง่ายโดยไม่ต้องอาศัยเทคนิคหรือความสามารถมาก
4. ต้นพืชเจริญเติบโตเร็ว โดยใช้ระยะเวลาไม่นาน
5. พืชต้นใหม่ที่ได้จะมีลักษณะเหมือนต้นเดิมทุกประการ

วัสดุที่ใช้ในการปักชำ
กระบะ ดิน ทราบ แกลบ ปุ๋ยคอก ขุยมะพร้าว ใบไม้ผุ

การปักชำสามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้

1. การปักชำราก เป็นการเอารากของพืชมาปักชำ อาจปักลงไปในดิน ในทราย หรือในเถ้าแกลบก็ได้ เพื่อส่วนของรากนั้นงอกเป็นลำต้นต่อไป พืชที่ใช้รากปักชำ เช่น มันเทศ สน สาเก เข็มอินเดียเป็นต้น วิธีการชำรากทำได้ ดังนี้
1.1 ตัดรากไม้ออกเป็นท่อนๆ
1.2 วางรากบนดิน การปักชำรากไม่นิยมปักในแนวตั้ง แต่นิยมวางในแนวนอน หรือวางในแนวเฉียงเล็กน้อย
2. การปักชำใบ โดยทั่วไปแล้วใบจะแตกเป็นกิ่งไม่ได้ แต่มีพืชบางชนิดสามารถนำใบมาปักชำให้เจริญเติบโตเป็นต้นต่อไปได้ เช่น ลิ้นมังกร กุหลาบหิน คว่ำตายหงายเป็น เป็นต้น การปักชำใบมี 4 วิธี

วิธีที่ 1 การปักชำโดยใช้ใบ
ให้นำใบที่ไม่ใช่ใบอ่อนมาตัดเป็นส่วนๆ หรือทั้งใบแล้วนำไปวางเป็นวัสดุ เช่น ทราย หรือดิน โดยให้ด้านบนของใบหงายขึ้น พืชที่นิยม เช่น คว่ำตายหงายเป็น กุหลาบหิน

วิธีที่ 2 การปักชำโดยใช้ก้านใบ
ให้ตัดก้านใบให้หลุดออกจากกิ่งแล้วนำไปปักชำก็จะเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้ เช่น กุหลาบหิน

วิธีที่ 3 การปักชำโดยใช้ก้านใบที่ส่วนของกิ่ง
ให้เอาใบมา โดยเฉือนส่วนของกิ่งให้มีตาติดมาด้วย (มิใช่นำมาทั้งกิ่ง) แล้วนำไปปักชำ ส่วนตาที่ติดมากับกิ่งก็จะเจริญเติบโตเป็นต้นต่อไป วิธีนี้นิยมใช้กับ ฟิโลเดนดรอน ต้นยางอินเดีย

วิธีที่ 4 การใช้ใบติดกิ่งมาปักชำ

ให้ตัดกิ่งที่จะนำมาปักชำ โดยกิ่งนั้นต้องมีตาเดียว และมีใบติดมาด้วยแล้วนำส่วนของกิ่งบางส่วนปักลงในดินให้ใบ และกิ่งส่วนหนึ่งโผล่ขึ้นมา เพียงเล็กน้อย พืชที่นิยมขยายพันธุ์แบบนี้ ได้แก่ ฟิโลเดนดรอน

การปักชำกิ่ง

เป็นวิธีที่นิยมกันมากและทำกันมานานแล้ว เราไม่จำเป็นต้องพิถีพิถันกับวัสดุที่ใช้ในการปักชำมากนัก ปัจจุบันนิยมกัน แพร่หลายเพราะประหยัดค่าใช้จ่าย ใช้ระยะเวลาสั้น และได้ลักษณะพันธุ์เดิม การปักชำกิ่งแบ่งเป็น 3 ประเภท
1. การปักชำกิ่งประเภทที่มีเนื้ออวบน้ำ เช่น ฤาษีผสม กิ่งชนิดนี้จะอ่อน บอบบาง และช้ำง่าย ฉะนั้นจึงต้องการความประณีต ในการปฏิบัติ คือต้องระวังในเรื่องความชื้น แสง และอุณหภูมิ
2. การปักชำกิ่งที่มีความแข็งของเนื้อไม้ปานกลาง เช่น ว่านกวนอิม อายุของกิ่งประมาณ 3 - 6 เดือน ผิวเปลือกของกิ่งมี สีอมเขียว ยังไม่เป็นสีน้ำตาล กิ่งประเภทนี้มีเนื้อไม้อ่อนไม่แข็งแรงนัก ฉะนั้นจึงควรระมัดระวังเรื่องน้ำ อุณหภูมิ และแสงสว่างให้มาก เพราะกิ่งประเภทนี้จะเหี่ยวแห้งได้ง่าย
2. การปักชำไม้ที่มีอายุเกิน 1 ปีขึ้นไป วิธีนี้นิยมกันมาก การเลือกกิ่งไม้ที่จะนำมาปักชำ ควรเลือกกิ่งที่มีสีน้ำตาล ก่อนปักชำควร ปักกิ่งชำให้มีตาอย่างน้อย 2-3 ตา การตัดควรตัดเป็นท่อน ๆ ขนาด ยาว 6-8 เซนติเมตร การตัดท่อนปลายกิ่งให้ตัดเหนือข้อ ส่วนท่อนโคนให้ตัดต่ำกว่าข้อ โดยตัดให้เฉียง เราไม่ควรตัดตรงข้อพอดี เพราะจะทำให้กิ่งสูญเสียอาหารไป นอกจากนี้ บริเวณข้อยังมีเนื้อเยื่อ อัดตัวแน่นและแข็งแรง ช่วยป้องกันการระเหยของน้ำในกิ่งได้เป็นอย่างดี

การเตรียมกระบะชำ

ควรทำกระบะ ขนาดกว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร สูง 20 เซนติเมตรชั้นล่างวางอิฐหรือกรวด ชั้นบนใส่ทรายหยาบหรือเถ้าแกลบให้เหลือขอบกระบะไว้ 5 เซนติเมตร รดน้ำให้ชุ่มการปักชำกิ่ง หรือยอด ควรหาไม้สำหรับใช้ในการนำร่องก่อน ปักทำมุม 45 องศา แล้วจึงนำกิ่งที่จะปักชำใส่ลงไป ให้ส่วนโคนที่ตัดเป็นรูปเฉียงตรงรอยตัดคว่ำลง ให้ส่วนยอดโผล่พ้นวัสดุชำอย่างน้อย 1-2 ตา การดูแลกิ่งชำ รดน้ำกิ่งชำให้ชุ่ม เช้า เย็น ทุกวันจะช่วยให้กิ่งปักชำออกรากได้ดี เมื่อปักชำไปได้ประมาณ 3-4 สัปดาห์ รากจะงอก จึงย้ายไปปลูกในแปลง หรือในกระถางที่เตรียมไว้โดยใช้ช้อนปลูกแซะ หรือตักไปปลูก 



ที่มา: www.oocities.org/titichaim/book0003.htm


ประวัติส่วนตัวของ นางสาวลิลาวรรณ สุขโข



ประวัติส่วนตัว
ชื่อนามสกุล  : นางสาว ลิลาวรรณ    สุขโข
ชั้น ม.4/10    
เลขที่ 29
ชื่อเล่น: แหวน
วันเกิด: 10 ตุลาคม พ.ศ.2541
สิ่งที่ชอบ
สี : ฟ้า เขียว ชมพู
อาหาร: ก่วยเตี๋ยว ส้มตำ
วิชา: สังคม ภาษาไทย
ภาพยนตร์: พี่มากพระโขนง  Timeline  คิดถึงวิทยา
นักแสดง: เจมส์ จิรายุ ตั้งศรีสุข
กีฬา: ว่ายน้ำ
เพลง: กาลครั้งหนึ่ง (แสตมป์ Feat. ปาล์มมี่ )
เพื่อนสนิท: กุลปริยา ตันติษัณสกุล  ม.4/9
               ธิราภรณ์  ธีระวัฒน์      ม.4/13
อาชีพที่อยากเป็น: เภสัชกร
คติประจำตัว: ถูกเกลียดเพราะเป็นตัวของตัวเอง  ดีกว่ามีคนรักในสิ่งที่ตัวเองไม่ได้เป็น
ประสบการณ์ที่ได้ทำ: เสียเงินค่าประตูกระจกโรงเรียนแตกเทอมล้ะ1บาน
                                  ทักคนผิดประจำ